หน้าแรก
ประชุมอนุบัญญัติ (กฎหมายลูก)
การจัดสรรบุคลากรลงตำแหน่ง ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ นักวิชาการศาสนา และเจ้าพนักงานศาสนา
ประชุมประธานเขตการศึกษาฯ 1-14 ครั้งที่ 1/2564
การเข้าสู่ตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติ
ประชุมคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม ครั้งที่ 1/2564
ประชุมคณะกรรมการ กบป.
การแข่งขันทักษะวิชาการระดับเขตการศึกษา ปส.2 ครั้งที่ 11
ประชุมประธานกลุ่ม (ภาคบ่าย)
การประชุมประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ครั้งที่ 4/2563 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ (หลังที่ 2) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ภาคบ่าย)
พระโสภณพุทธิธาดา ประธานเขต 8 เป็นประธานการประชุม
สรุปดังนี้
- การเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) นักวิชาการศาสนศึกษาผู้รับผิดชอบ รวบรวมรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา SAR ในรูปแบบ pdf ปีการศึกษา 2562 ส่งให้ครบทุกโรงเป็นระบบ e-SAR ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 โดย สมศ.เตรียมให้หน่วยประเมินภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 จากนั้นผู้ประเมินจากประเมินภายนอก ภายในเดือนมกราคม - สิงหาคม 2564
- การจัดทำระบบทะเบียนนักเรียนครูและผู้สำเร็จการศึกษาในสถานศึกษา (teaching and education Zones) ประกอบด้วยระบบย่อย 9 ระบบ ดังนี้ 1)บริหารจัดการทั่วไปภายในโรงเรียน 2)ระบบบริหารจัดการข้อมูลครูและบุคลากร 3)ระบบบริหารจัดการหลักสูตรและแผนการเรียน 4)ระบบการบริหารจัดการรับสมัคร มอบตัว และเทียบโอน 5)ระบบบริหารจัดการทะเบียนนักเรียน 6)ระบบบริหารจัดการผลการเรียน 7)ระบบบริหารจัดการเอกสารการศึกษา 8)ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา 9)ระบบบริหารจัดการสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2564 ภาคเรียนที่ 1 เป็นต้นไป
- การสำรวจข้อมูลนักเรียนปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 2 ส่งรายงานวันที่ 10 ธันวาคม 2563
- การจัดทำข้อมูลนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทยระบบ g code
- การจัดส่งแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปพ. 3)
- การดำเนินการขับเคลื่อน หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เพื่อเป็นแนวทางเดียวกัน จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในสถานศึกษา และจัดทำรายงานผลการดำเนินการปีการศึกษา่ ส่งกองพุทธศาสนศึกษาเพื่อจัดทำเป็นข้อมูลส่งให้สำนักงานปปช.ต่อไป
- สถานที่ตั้งสำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา (ส่วนกลาง) จัดตั้ง ณ อาคารหอสมุดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- การเตรียมความพร้อมเรื่อง จศป. เสนอดังนี้ 1)เสนอชื่อตั้ง อบป.ประจำสำนักงานการศึกษาแผนกสามัญศึกษา 2)ประชุมร่วมกัน 4 ฝ่าย ได้แก่ฝ่ายบาลี, ฝ่ายธรรม,ฝ่ายสามัญ,ปริยัตินิเทศก์ 3) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดรวบรวมฐานข้อมูล จศป. ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2563
- วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลา 9:00 น ประชุม ณ ห้องประชุมวัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานคร ประชุมเรื่อง ประชุมการวิพากษ์เสนอในข้อคิดเห็น ร่างแผนการศึกษาพระปริยัติธรรม และแผนงบประมาณเพื่อจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม
ปรัชญาวิชญ์ นุ่มนวล สรุปประเด็นสำคัญ
การประชุมประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาครั้งที่ 4 ประจำปี 2563
- เจตนารมณ์ให้โรงเรียนปริยัติธรรม ขยายโอกาสทางการศึกษา บรรลุเป้าหมาย บทบาทชัดเจนครู เกษียณอายุ ครูผู้เชี่ยวชาญ อำนาจการบริหารราชการครู เจ้าอาวาสเป็นผู้ควบคุมกำกับสั่งการหรือไม่ ถ้าเป็นราชการก็จะมีกฎหมายการศึกษารองรับบรรจุแต่งตั้งชัดเจน ยึดแบบผลของการจบของครูจบอะไรมาใน 8 กลุ่มสาระ วิชาครู การกำหนดมาตรฐาน การบรรจุ การงบประมาณ
- การนำบุคคล 12 คน ก้าวสู่ตำแหน่งได้อย่างไรใน 8 กลุ่มสาระ เช่น ครูสามัญ 8 คน ครูบาลี 2 คน ครูธรรม 2 คน ต้องบอกบัญชีที่อยู่อย่างชัดเจน ต้องมีคำสั่งบรรจุแต่งตั้งที่มั่นคง ต้องบริหารงบประมาณในการเป็นผู้กำกับดูแลรับผิดชอบ เงินเดือนครู รับค่ารักษาพยาบาล อำนาจหน้าที่อยู่ที่ผู้จัดการหรือเจ้าอาวาส ถ้าเป็นส่วนราชการก็เป็นระบบของการวางระบบบริหารจัดการ
- การใช้ระบบบริหารจัดการ เช่น โรงเรียนขนาดใหญ่สามารถรับบุคลากรตามกำหนดได้ แต่โรงเรียนขนาดเล็กรับบุคลากรตามที่กำหนดไม่ได้ทำอย่างไรกับปัญหานี้ จึงต้องทำให้เป็นส่วนงานราชการ จึงต้องวางแผนจัดทำบริหารบุคลากรที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อาจจะรวมเป็นโรงเรียนที่อยู่ในอำเภอจังหวัดเดียวกัน
- การดำเนินการของโรงเรียนั กิจกรรมหลายส่วนเช่นส่วนบาลี ส่วนธรรม ส่วนสามัญ และส่วนปริยัตินิเทศก์ อาจจะเพิ่มในส่วนของเทคโนโลยี งานวิชาการ องค์ความรู้ต่างๆ การแยกส่วนทั้งสพฐ. และเอกชนนั้น ต้องการเป็นอิสระในการบริหารด้านการเงิน การหาคนผู้ควบคุมดูแลด้านการบริหารจัดการโดยอาจจะไม่ขึ้นอยู่กับเจ้าอาวาส หรือผู้จัดการ อาจจะขึ้นอยู่กับเขตการศึกษา เป็นสิ่งสำคัญหรือไม่ โดยจัดตั้งผู้ที่ดูแลรับผิดชอบจากส่วนกลาง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- เป้าหมายหลักของโรงเรียนพระปริยัติธรรม นั้นเพื่อสร้างศาสนทายาท ความมีคุณภาพ หลักสูตรโดดเด่น และชัดเจน โดยโรงเรียนขนาดเล็กใชัมาตรฐานควบคุมบังคับ ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่ใช้คุณภาพตามมาตรฐาน กรอบในการพัฒนาความเป็นอิสระ ควรใช้ระบบอย่างเช่น มมร. หรือ มจร. หรือไม่ หรือกองทุนเอกชน หรือกองทุนประกันสังคม
- สรุปต้นเดือนมกราคม 2563 ก็เสนอจัดทำแผนงบประมาณให้แล้วเสร็จ ในด้านบุคลากร การปรับปรุงโรงเรียน เหลือเวลาอีก 2 เดือน จึงเสนอแนวทางที่ควรจัดคือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นศูนย์กลาง เพื่อยื่นเสนอและประสานงาน 4 ส่วน ตั้งแต่ส่วนบาลี ส่วนธรรม ส่วนสามัญ และส่วนปริยัตินิเทศก์ โดยจัดทำแผนคน จัดทำแผนงาน จัดทำแผนการเงิน ขึ้นให้แล้วเสร็จ ส่วนธรรม-บาลี ยังไม่เสร็จสมบรูณ์
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม ถ้านิติบุคคล ขึ้นต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เงินเดือนจ่ายได้ตรงเลย แต่โรงเรียนพระปริยัติธรรมไม่เป็นนิติบุคคล ก็จัดทำงบแยกส่วน อาจจะเป็นส่วนฝ่ายที่ขึ้นต่อ ม.มจร. หรือ ม.มมร. โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางจัดงบบุคลากร ให้โดยตรง และแผนบุคลากร ต้องแยกแผนให้ชัดเจน ป้องกันตั้งบรรจุแต่ย้ายไปหน่วยงานอื่น ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ จึงเสนอให้ ม.มจร. หรือ ม.มมร. ทำญานข้อมูลบุคคลากร ในส่วนโรงเรียนพระปริยัติธรรม
สรุป การจัดทำแผนและกรอบการทำงาน ต้องคำนึงถึง คุณภาพ, มาตรฐาน และ งบประมาณ
พระเทพปวรเมธี ผู้แทนส่วนงานพระปริยัตินิเทศ สรุป ดังนี้
เมื่ออนุบัญญัติแล้ว ครูยังเป็นลูกจ้างของวัด จึงเสนอเพิ่มเติมเพื่อให้ครูนั้น เป็นบุคลากรเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานของรัฐ อย่างเต็มตัว จึงว่าด้วยการเพิ่มภาระงาน, ว่าด้วยโครงสร้าง ว่าด้วยการพัฒนาครู ว่าด้วยพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน ต่อไปมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมสนับสนุนส่งเสริมงานด้านวิชาการ ความรู้ด้านงบประมาณ การศึกษาดูงานใน ม.มจร.ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
พระเทพเวที ผู้ทรงคุณวุฒิ
สรุปดังนี้
ส่วนข้อบังคับ, อำนาจหน้าที่, บุคลากรได้เรียบร้อยแล้ว เพียงรอการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ และ ครม.อนุมัติ แต่โรงเรียนพระปริยัติธรรมต้องมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง เปรียบส่วนสามัญเป็นผู้ผลิต, ส่วนบาลีเข้มแข็ง, ส่วนธรรมยังยืน และตอนนี้ได้อนุบัญญัติแล้ว 2 ฉบับ ที่เป็นส่วนของโครงสร้างอำนาจหน้าที่ั และบุคลากร จึงต้องมีแผนการจัดการศึกษา และแผนจดทำงบประมาณจัดทำให้เสมือนกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งมีทั้งในฝ่ายของบรรพชิตและฝ่ายของคฤหัสถ์
ท่านสิทธา มูลหงษ์ ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
สรุปดังนี้
- วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 จัดทำแผนงบประมาณ 3 แผนให้แล้วเสร็จก่อนรอร่วมจัดทำอนุบัญญัติ และเสนอคณะกรรมการอนุบัญญัติ สิ้นเดือนพฤศจิกายน
- วันที่ 1-5 ธันวาคม 2563 เสนอกระทรวงการคลัง
- วันที่ 20 ธันวาคม 2563 เสนอคณะกรรมการบอร์ดใหญ่ลงนาม
- วันที่ 25 ธันวาคม 2563 ลงแถลงการณ์คณะสงฆ์
- วันที่ 25 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการบอร์ดใหญ่
- วันที่ 1 มกราคม 2564 ตั้งงบประมาณ
ทามไลน์นี้ ปรับเปลี่ยนได้ตามภาระงานเร่วด่วน
ปรัชญาวิชญ์ นุ่มนวล สรุปการประชุมภาคเช้า
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ คสช.
เสนอ จศป. ต่อ ตัวแทน สนง. ก.พ.
- ข้อมูล จศป. สามัญ ได้นำเสนอทาง ก.พ. โดยมีความเห็นว่าสามัญมีความชัดเจน และเห็นชอบตามกรอบอัตรากำลังและตำแหน่งทางสามัญฯ ที่เสนอขอตาม พรบ.ทั้งหมด
- ทางแผนกธรรม บาลี ข้อมูลยังไม่ชัดเจน ในส่วน จศป. รายบุคคล ซึ่งทางคณะทำงานและ ก.พ. กำหนดให้เดตไลน์วันที่ 30 ต.ค. 63 เท่านั้น (เพื่อให้ทันกรอบงบประาณปี 65)
- ทางคณะทำงาน สามัญ มอบข้อมูล จศป. ให้กับ ผู้ตรวจ พศ.
- สรุปภาพรวม และเชิงลึก และบรรยากาศการเข้าหารือกับ สนง.ก.พ. ท่าน พม.สมเกียรติ จะนำเสนออีกครั้งครับ..
จากการเข้าพบที่ปรึกษานายก(ท่านพงศ์พร)และกพ.วันนี้มีเรื่องแจ้ง ดังนี้
- จศป.ของสามัญศึกษาทั้งหมด จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งทั้งหมด
- ตำแหน่งประธานกลุ่มเดิมั จะเป็นตำแหน่งรักษาการประธานเขตตามขัอบังคบใหม่
- สำนักงานกลางของสามัญศึกษา ที่ขอใช้สถานที่ตอนนี้มีหนังสืออนุญาตให้ใช้ได้แล้ว
- ข้อมูล จศป. ของสามัญศึกษาได้มอบให้ท่านผู้ตรวจสิทธา และรอข้อมูลของบาลีนักธรรมซึ่งจะเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ เมื่อเสร็จแล้วจะดำเนินการพร้อมกันคาดการณ์ต้นเดือนหน้านี้