www.debsecond.org

www.debsecond.org

เมนู

สำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 2

วัดสระเรียง

วัดสระเรียง

ประวัติกลุ่มโรงเรียน

ประวัติกลุ่มโรงเรียนและคณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียน ปส.2

          กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๒ สังกัดกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามระเบียบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ ดังนี้ ด้วยการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรา ๔๕ กำหนดให้มีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติขึ้น และพระราชกฤษฎีกา โอนกิจการบริหารและอำนาจของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕มาตรา ๑๕๙ กำหนดให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนาบางส่วนมาเป็นของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

          ปัจจุบันตามประกาศคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เรื่อง กำหนดกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ กำหนดดังนี้ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เรื่อง การกำหนดกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ให้เหมาะสมและคล่องตัวในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เพื่อให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความข้อ ๗ แห่งระเบียบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ จึงให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เรื่อง การกำหนดกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ซึ่งประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน  ๒๕๔๖ และประกาศนี้แทนดังต่อไปนี้ สำหรับกลุ่ม ๒ ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา กระบี่ ตรัง ระนอง สตูล ยะลา 

สำนักงานกลุ่มโรงเรียน ปส.2

            กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๒ ได้ก่อตั้งขึ้นตามระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พุทธศักราช ๒๕๓๗ และได้ปรับปรุงระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้ชื่อว่ากลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๓ ต่อมาประกาศคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เรื่อง กำหนดกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ ได้เปลี่ยนเป็นกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๒ เพื่อให้เหมาะสมและคล่องตัวในการบริหารโรงเรียนในกลุ่ม และคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้ประกาศกำหนดกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน ๑๔ กลุ่ม และกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๓ ในขณะนั้น มี ๑๖ โรงเรียน ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา จำนวน ๔ โรงเรียน นครศรีธรรมราช จำนวน ๗ โรงเรียน สุราษฎร์ธานี จำนวน ๔ โรงเรียน และชุมพร จำนวน ๑ โรงเรียน

             กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๒ สังกัดกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามระเบียบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ ดังนี้ ด้วยการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ มาตรา ๔๕ กำหนดให้มีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติขึ้น และพระราชกฤษฎีกา โอนกิจการบริหารและอำนาจของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕มาตรา ๑๕๙ กำหนดให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนาบางส่วนมาเป็นของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

             ประกาศคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เรื่อง กำหนดกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ กำหนดดังนี้ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง ประกาศคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เรื่อง การกำหนดกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ให้เหมาะสมและคล่องตัวในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เพื่อให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความข้อ ๗ แห่งระเบียบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ จึงให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เรื่อง การกำหนดกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ซึ่งประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๖ และประกาศนี้แทนดังต่อไปนี้ สำหรับกลุ่ม ๒ ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา กระบี่ ตรัง ระนอง สตูล ยะลา

            ปัจจุบันประกาศคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.๒๕๕๕ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๓ และข้อ ๑๕(๖) แห่งประกาศมหาเถรสมาคมว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ คณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ให้มีกลุ่มโรงเรียน กลุ่มที่ ๒ ประกอบด้วย ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา กระบี่ ตรัง ระนอง พังงา ภูเก็ต พัทลุง สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ให้สำนักงานกลุ่มโรงเรียน ตั้งอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปัจจุบันมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๒ จำนวน ๒๐ โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดมะนาวหวาน โรงเรียนพระบรมธาตุพิทักษ์วิทยา โรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญวัดสระเรียง โรงเรียนพระปริยัติธรรมอำเภอทุ่งใหญ่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญวัดไตรวิทยาราม โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดแก้วโกรวาราม โรงเรียนพระปริยัติธรรมปัญญาทีปวิทยานุสรณ์ โรงเรียนแสงธรรมพิทยาคม โรงเรียนพระบรมธาตุไชยาวิทยา โรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญวัดโฉลกศิลาราม  โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดตโปทาราม โรงเรียนพุทธรังษีพิทยาลัย โรงเรียนพุทธวิทยา โรงเรียนแสงทองวิทยาธรรม โรงเรียนวัดมัชฌิมาวิสุทธิเทพวิทยา โรงเรียนหลวงพ่อเดิมประสิทธิ์วิทยา โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโคกเปี้ยว โรงเรียนธรรมจักรวิทยา โรงเรียนสิทธิธรรม และโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญวัดเมืองยะลา 

ประวัติความเป็นมาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามญศึกษา

การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เป็นการศึกษารูปแบบหนึ่งของการศึกษา คณะสงฆ์ เป็นการศึกษาที่รัฐกําหนดให้มีขึ้นตามความประสงค์ของ(พระราชวรมุนี๒๕๒๑ : ๓๕๕) ซึ่งมีมูลเหตุสืบเนื่องมาจากการจัดตั้งโรงเรียนบาลีมัธยมศึกษาและบาลีวิสามัญศึกษาสํานักเรียนวัด กล่าวคือ ภายหลังจากที่การศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง คือ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งเปิดดําเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๓๒ และ พ.ศ. ๒๔๘๙ ตามลําดับ ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทางมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้จัดแผนกมัธยมขึ้นมา เรียกว่าโรงเรียนบาลีมัธยมศึกษา กําหนดให้การเรียนบาลีนักธรรม และความรู้ชั้นมัธยม โดยรับผู้ที่สําเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ต่อมาเมื่อโรงเรียนบาลีมัธยมศึกษานี้ได้แพร่ขยายออกไปยังต่างจังหวัดหลายแห่ง มีพระภิกษุและสามเณรเรียนกันมาก ทางคณะสงฆ์โดยองค์การศึกษาจึงได้กําหนดให้เรียกโรงเรียนประเภทนี้ใหม่ว่า โรงเรียนบาลีวิสามัญศึกษาสํานักเรียนวัด โดยมติคณะสังฆมนตรี และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกระเบียบกระทรวง ให้โรงเรียนบาลีวิสามัญศึกษาสํานักเรียนวัดนี้เปิดทําการสอบสมทบในชั้นตัวประโยค คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา และเมื่อสอบได้แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทําให้พระภิกษุและสามเณรนิยมเรียนกันมาก โรงเรียนประเภทนี้จึงแพร่หลายออกไปยังจังหวัดต่าง ๆ อย่างกวางขวาง จนทําให้ทางการคณะสงฆ์เกรงว่า การศึกษาธรรม และบาลีจะเสื่อมลงเพราะพระภิกษุและสามเณรต่างมุ่งศึกษาวิชาทางโลกมากไป เป็นเหตุให้ต้องละทิ้งการศึกษาธรรมและบาลีเสีย แต่ทางการคณะสงฆ์ก็ยังพิจารณาเห็นความจําเป็นของการศึกษาวิชาในทางโลกอยู่ 

ดังนั้นแม่กองบาลีสนามหลวง พระธรรมปัญญาบดี (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ฟื้น ชุตินฺธรมหา เถระ) จึงได้ตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีขึ้นใหม่มีวิชาบาลี วิชาธรรม และวิชาทางโลก เรียกว่าบาลีศึกษาสามัญศึกษา และปริทัศน์ศึกษา ได้ประกาศเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ พร้อมกับได้ยกเลิกระเบียบของคณะสังฆมนตรี ว่าด้วยการศึกษาของโรงเรียนบาลีวิสามัญศึกษาสํานักเรียน วัด เสีย และกําหนดให้พระภิกษุสามเณรเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ที่คณะสงฆ์ได้จัดขึ้นใหม่แต่การณ์ปรากฏต่อมาว่า การตั้งสํานักเรียนตามแบบโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีใหม่นี้มีน้อย นักเรียนก็นิยมเรียนกันน้อย เพราะพระภิกษุสามเณรส่วนใหญ่ยังพอใจที่จะเรียน โดยได้รับประกาศนียบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ดังนั้น นักเรียนในโรงเรียนดังกล่าว จึงได้พากันเข้าชื่อกันเป็นนักเรียนโรงเรียนราษฎร์ของวัด ซึ่งตั้งขึ้นโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการบ้าง สมัครสอบเทียบบ้าง เข้าเป็นนักเรียนผู้ใหญ่บ้าง ทําให้การศึกษาของคณะสงฆ์ในช่วงนี้ ระยะนั้นเกิดความสับสนเป็นอันมาก(กรมการศาสนา ๒๕๒๑)

ในขณะเดียวกันได้มีผู้แทนราษฎรได้ยื่นเรื่องราวขอให้กระทรวงศึกษาธิการ เปิดการสอบสมทบในชั้นตัวประโยคให้แก่ พระภิกษุสามเณร แต่กรมการศาสนาร่วมกับกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาลงความเห็นร่วมกันว่าควรจะตั้งโรงเรียนขึ้นประเภทหนึ่ง เพื่อสนองความต้องการของพระภิกษุสามเณร โดยให้เรียนทั้งวิชาธรรม และวิชาสามัญศึกษาควบคู่กันไป โดยไม่มีการสอบสมทบ แต่ให้กระทรวงศึกษาธิการดําเนินการสอบเอง และโดยพระปรารภของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (จวน อุฎฐายีมหาเถระ) “การศึกษาทางโลกเจริญก้าวหน้ามากขึ้นตามความเปลี่ยนแปลงของโลก การศึกษาพระปริยัติธรรม ก็จําเป็นต้องอนุวัตรไปตามความเปลี่ยนแปลงของโลกบ้าง จึงเห็นสมควรที่จะมีหลักสูตรในการเรียนพระปริยัติธรรมเพิ่มขึ้นอีกแผนกหนึ่ง คือ หลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ศึกษาได้มีโอกาสบําเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ได้ ทั้งทางโลกและทางธรรมควบคู่กันไป” ในที่สุด กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศใช้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๔ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๕ (ปัจจุบันใช้ระเบียบสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ ๒๕๔๖) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การศึกษาในโรงเรียนดังกล่าวเป็นประโยชน์ ต่อฝ่ายศาสนจักร และฝ่ายบ้านเมือง กล่าวคือ ทางฝ่ายศาสนจักรจะได้ศาสนทายาทที่ดีมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ดํารงอยู่ในสมณธรรม สมควรแก่ภาวะ สามารถธํารงและสืบต่อพระพุทธศาสนาให้เจริญสถาพรต่อไป และถ้าหากพระภิกษุสามเณรเหล่านี้ลาสิกขาบทไปแล้ว สามารถเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาของรัฐได้ หรือเข้าราชการสร้างประโยชน์ ให้ก้าวหน้าให้แก่ตนเองและบ้านเมืองสืบต่อไปด้วยเช่นกัน ในระยะเริ่มแรกมีเจ้าอาวาส ๕๑ แห่ง รายงานเสนอจัดตั้งต่อกรมการศาสนา (คู่มือการปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วิชัย ธรรมเจริญ, ๒๕๔๑ : ๓-๔) 

เดิมนั้นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบัน สังกัดกองพุทธศาสนศึกษา สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ และศึกษาหลักสูตรพระปริยัติธรรม (บาลี,ธรรมวินัยและศาสนปฏิบัติ) ภายใต้กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสถาบันพระพุทธศาสนา พ.ศ.๒๕๔๘ ลงนามโดย นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ 

ผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 2

  • พระครูสิริวินัยบรรหาร                 ประธานบริหาร
  • พระครูวิริยกิจโสภิต                    รองประธานบริหาร
  • พระมหาสมศักดิ์  ปรมาภินนฺที      เลขานุการ
  • นายปรัชญาวิชญ์  นุ่มนวล           นักวิชาการศาสนศึกษา
  • นายเทพนิมิตร  กลับกลาย          นักวิชาการศาสนศึกษา
  • นายศุภโชค  มณีโชติ                 นักวิชาการศาสนศึกษา

คณะกรรมการผู้บริหารกลุ่มโรงเรียน ปส.2

ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในกลุ่มที่ 2 (ภาคใต้)

  1. พระครูเหมเจติยาภิบาล ผู้อำนวยการโรงเรียนพระบรมธาตุพิทักษ์วิทยา  จังหวัดนครศรีธรรมราช
  2. พระครูพรหมเขตคณารักษ์,ดร. ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญวัดสระเรียง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
  3. พระมหาสมศักดิ์ ปรมาภินนฺที ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดมะนาวหวาน   จังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. พระครูโสภณธรรมประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  5. พระครูสุจิณธรรมโสภิต ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญวัดไตรวิทยาราม   จังหวัดนครศรีธรรมราช
  6. พระครูรัตนสุตาทร ผู้อำนวยการผู้อำนวยการพระปริยัติธรรมวัดแก้วโกรวาราม  จังหวัดกระบี่
  7. พระครูธีรธรรมานุยุต ผู้อำนวยการโรงเรียนแสงธรรมพิทยาคม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  8. พระมหาสัญญา ธีรสญฺญโม ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมปัญญาทีปวิทยานุสรณ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  9. พระครูพิทักษ์เจติยานุกูล ผู้อำนวยการโรงเรียนพระบรมธาตุไชยาวิทยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  10. พระครูธีรธรรมพิมล ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญวัดโฉลกศิลาราม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  11. พระครูสุนทรปริยัติคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดตโปทาราม  จังหวัดระนอง
  12. พระครูสิริวินัยบรรหาร ผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธรังษีพิทยาลัย  จังหวัดชุมพร
  13. พระมหาณรงค์ชัย สุวณฺณวํโส ผู้อำนวยการโรงเรียนแสงทองวิทยาธรรม  จังหวัดสงขลา
  14. พระครูบวรสรนาท ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมัชฌิมาวิสุทธิเทพวิทยา  จังหวัดสงขลา
  15. พระปลัดอธิวัฒน์ อธิวฑฺฒโน ผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธวิทยา  จังหวัดสงขลา
  16. พระครูภัทรกิจจานุกูล ผู้อำนวยการโรงเรียนหลวงพ่อเดิมประสิทธิ์วิทยา  จังหวัดสงขลา
  17. พระครูโกศลอรรถกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโคกเปี้ยว จังหวัดสงขลา
  18. พระมหาคลี จารุวํโส ผู้อำนวยการโรงเรียนธรรมจักรวิทยา  จังหวัดสตูล
  19. พระครูวิริยกิจโสภิต ผู้อำนวยการโรงเรียนสิทธิธรรม  จังหวัดตรัง 
  20. พระสิริปัญญาคุณ รก.ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญวัดเมืองยะลา  จังหวัดยะลา
การตั้งค่าคุกกี้
ไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ในการท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถยอมรับคุกกี้ทั้งหมดหรือเลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณยินดีอนุญาต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เลือกคุกกี้ที่คุณต้องการอนุญาตในขณะที่คุณเรียกดูเว็บไซต์นี้ โปรดทราบว่าคุกกี้บางตัวไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากหากไม่มีคุกกี้ เว็บไซต์จะไม่ทำงาน
ความสำคัญ
เพื่อป้องกันสแปม ไซต์นี้ใช้ Google Recaptcha ในแบบฟอร์มการติดต่อ

ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้สำหรับอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินซึ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
บริการของ Google
ไซต์นี้ใช้คุกกี้จาก Google เพื่อเข้าถึงข้อมูล เช่น หน้าที่คุณเยี่ยมชมและที่อยู่ IP ของคุณ บริการของ Google บนเว็บไซต์นี้อาจรวมถึง:

- Google Maps
- Google Font
ข้อมูล
ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าชม ติดตามการแปลงโฆษณา และสร้างผู้ชม รวมถึงจาก:

- Google Analytics
- เครื่องมือวัด Conversion ของ Google Ads
- Facebook (Meta Pixel)